Sustainable Organization

องค์กรนักศึกษาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Organization)

การดำเนินขององค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลกำกับ ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุน ตลอดจนอำนวยความสะดวก (Facilitate) เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัด “กิจกรรมเพื่อชีวิตสร้างสรรค์” ฝึกทักษะประสบการณ์ บูรณาการองค์ความรู้ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (Soft skill / Hard Skill) เพื่อสร้างเสริมและยกระดับความสามารถ ศักยภาพให้เป็นบัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยทักษะจำเป็นในด้านต่าง ๆ (Smart Skill) ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการเรียนและการทำงานในอนาคตอย่างมีความสุจ รวมถึงเป็นพลเมืองโลก (Global citizen) ที่มีคุณภาพ ความรับผิดชอบ ตื่นรู้ เท่าทันยุคสมัย (Awareness) ต่อไป


ทั้งนี้รูปแบบและขั้นตอนที่มีระบบ ระเบียบ ก่อเกิดเป็นแนวทางการทำงานที่มีความเป็นเอกภาพ ในความเป็นภารดรภาพ ซึ่งเคารพในความต่างอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งยังให้เกียรติซึ่งกันและกันในมิติแห่งความเป็นพี่น้องซึ่งเป็นหนึ่งเดียว ”
ความเป็นหนึ่งของกันและกัน รังสรรค์บัณฑิตพึงประสงค์ | Oneness of Silpakorn”

ด้วยหลักปณิธาน (Detorminations) ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้   วิวัฒน์สู่สภาพแวดล้อมพร้อมศึกษา องค์กรสร้างสรรค์พัฒนา    สร้างค่าภูมิปัญญานำสังคม บนวิสัยทัศน์ (Vision) ของความเป็นองค์กรนำในการพัฒนานักศึกษาอย่างสร้างสรรค์ กองกิจการนักศึกษา จึงตระหนักถึงการรังสรรค์บัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ศรัทธาในคุณค่าแห่งคุณธรรมและความดี กำหนดเป้าหมายสำคัญคือความเข้าใจในการเตรียมพร้อมนักศึกษา ซึ่งมีความต้องการและจุดมุ่งหมายที่ต่างกันออกไปตามแต่ละชั้นปี (Year stage) ทั้งนี้ยังได้นำทฤษฎี การพัฒนานิสิตนักศึกษา ของชิกเกอริ่ง และไรเซอร์ (Arthur W. Chickering & Reiser 1993) ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่

1. การพัฒนาความสามารถ (Developing Competence)   ในระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยนิสิตนักศึกษาจะพัฒนาความสามารถ  3 ด้าน คือ ความสามารถด้านสติปัญญา ความสามารถทางร่างกาย และความสามารถในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือด้านสังคมนิสิตนักศึกษา จะมีความรู้สึกว่าตนมีความสามารถมากขึ้น เพื่อพวกเขาได้เรียนรู้ที่จะไว้วางใจในความสามารถของตนยอมรับคำวิจารณ์จากผู้อื่น และบูรณาการทักษะต่าง ๆ ของเขาให้กลายเป็นความมั่นใจในตนเอง

2. การจัดการด้านอารมณ์ (Managing Emotions)   นิสิตนักศึกษาหลายคนต้องประสบกับอารมณ์ในด้านไม่ดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความกลัว ความเจ็บปวด ความคิดถึง ความเบื่อหน่าย หรือความเครียด ผลจากการศึกษาพบว่า ความวิตกกังวล ความโกรธ ความรู้สึกหดหู่ ความต้องการ ความรู้สึกผิด และความอายนั้น เมื่อมีมากเกินไป จะมีอิทธิพลต่อกระบวนการศึกษาดังนั้น จึงต้องมีการจัดการด้านอารมณ์ที่ดี งานสําคัญในการพัฒนานิสิตนักศึกษาด้านนี้ ไม่ได้เป็นการกําจัดอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ แต่ว่าจะต้องตระหนักและรับรู้ถึงอารมณ์ เหล่านี้ว่าเป็นสัญญาณบอกสิ่งต่าง ๆ

3.   การพัฒนาจากความเป็นตัวของตัวเองไปสู่ การพึ่งพาอาศัยกัน (Moving Through Autonomy Toward Interdependence)   สิ่งสําคัญที่ นิสิตนักศึกษาจะต้องพัฒนาในที่นี้ก็คือ การเรียนรู้ที่จะพอใจในตนเอง มีความรับผิดชอบในการบรรลุเป้าหมายที่ตนได้เลือกไว้ ไม่ถูกชักนําโดยความคิดเห็นของคนอื่น การพัฒนาในด้านนี้จะต้องนําไปสู่ความเป็นอิสระทั้งทางอารมณ์ และในด้านความต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก และนําไปสู่การยอมรับการพึ่งพาอาศัยกันในขั้นต่อมา

4.   การพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้อื่นอย่างมีวุฒิภาวะ (Developing Mature Interpersonal Relationships)   รวมถึง การยอมรับและชื่นชมความแตกต่างระหว่างบุคคล และความสามารถในการใกล้ชิดผูกพันกับผู้อื่น การยอมรับความแตกต่าง นอกจากจะหมายถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ยังหมายความรวมถึงในบริบทที่มีความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมด้วย การตระหนักถึงความแตกต่าง การมีประสบการณ์ที่กว้างขวาง ความเปิดเผย ความอยากรู้อยากเห็น และการเป็นปรวิสัย (objective) ไมยึดติดกับความเห็นของตน

5. การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตน (Establishing Identity)   การสร้างเอกลักษณนั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ที่กล่าวมาก่อนแล้ว คือ ความสามารถ การจัดการกับอารมณ์ การเป็นตัวของตัวเอง และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี การพัฒนาเอกลักษณ์นั้นเป็นกระบวนการค้นหาว่าประสบการณ์ชนิดใด ระดับใด และการทําประสบการณ์นั้น ๆ บ่อยเท่าไร ที่จะทำให้เราพึงพอใจ รู้สึกปลอดภัย และมั่นใจในตนเอง


6. การพัฒนาเป้าหมาย (Developing Purpose)   เป็นการเพิ่มความสามารถในการเป็นคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่ ความสามารถในการประเมินความสนใจและทางเลือกต่าง ๆ โดยจะตองมีการวางแผนสําหรับการะกระทำ และมีการกำหนดสิ่งที่ควรจะทำกอนใน 3 ด้าน คือ แผนและแรงบันดาลใจเกี่ยวกับอาชีพ ความสนใจส่วนตัว และความผูกพันกับบุคคลอื่นและครอบครัว นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงเป้าหมายที่ แตกตางกันของตนใหอยู่ภายใต้เป้าหมายหลักที่ใหญกว่าและมีความหมายมากกว่า และการมีความตั้งใจในการทําสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจําวัน

7. การพัฒนาความมีคุณธรรม (Developing Integrity) การพัฒนาความมีคุณธรรมนั้นใกลกับการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตน และการกําหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การพัฒนาความมีคุณธรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่มีลําดับซ้อนกันอยู่ คือ

  • ค่านิยมในด้านเกี่ยวกับมนุษย์จะเปลี่ยนจากการทําตามความเชื่อต่าง ๆ โดยอัตโนมัติไปสูการรักษาความสมดุลระหว่าง  ความสนใจของตนเองกับความสนใจของเพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ
  • ค่านิยมเกี่ยวกับบุคคล เป็นการยอมรับค่านิยม ความเชื่อต่าง ๆ อย่างมีสติในขณะเดียวกันก็เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
  • การพัฒนาความเหมาะสม หมายถึง การประสานระหว่างค่านิยมส่วนตัว กับพฤติกรรมที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม



x Close

Silpakorn Act