ร่วมชมและเชิดชูคุณค่างานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20
ภาระหน้าที่หลักประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา คือ การทำนุบำรุง ส่งเสริม เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม อันได้แก่ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนเสริมสร้างบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ในการปลูกฝังวัฒนธรรมที่พึงประสงค์และเป็นที่ต้องการของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ความมีสำนึกของการเป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย มีมนุษยธรรม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีโลกทัศน์สากล มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมและอารยธรรม ศาสนาและปรัชญา เสริมสร้างและสนับสนุนการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและสภาพสังคมไทย ตลอดจนสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ
ซึ่งเยาวชนเหล่านี้จะเป็นผู้อนุรักษ์สืบสานและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สื่อความรู้ต่าง ๆ ให้คงอยู่ตลอดไป จึงเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นและส่งเสริมเปิดโลกความคิดและจินตนาการให้กว้างไกลผสมผสานกับการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งประยุกต์ใช้เพื่อรักษาคุณค่าและเพิ่มมูลค่าในระดับชาติและนานาชาติ ในมาตรการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมกับภาครัฐและเอกชน ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและพร้อมที่จะสืบสานและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ รวมทั้งให้เป็นที่ยอมรับในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ตระหนักและเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงมีความประสงค์จะเข้าร่วมศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา เพื่อร่วมเผยแพร่และสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยสงชุดการแสดง “ครื้นเครงเพลงลำตัด” จากชมรมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเพลงลำตัดเป็นเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ได้รับอิทธิพลมาจากการละเล่นของชาวอิสลาม โดยมีกลองรำมะนาเป็นเครื่องประกอบจังหวะหลักซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของการแสดงลำตัด
- เพื่อสร้างความตระหนัก และอนุรักษ์เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย
- เพื่อให้นักศึกษา และบุคลากร ภาคภูมิใจในแบบแผนวัฒนธรรมอันดีงามของไทย คงสืบสานไว้ในคุณค่าและความสำคัญแห่งสุนทรียภาพด้านศิลปวัฒนธรรม
- เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้วยการแสดงศักยภาพด้านการแสดง และนักศึกษามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ชื่อเสียงมหาวิทยาลัย
ข้อปฏิบัติการเข้าร่วมกิจกรรม (นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ)
- ทบทวนข้อตกลงและเงื่อนไขกิจกรรมก่อนเข้าร่วม
- กำหนดการแสดงระหว่าง 9-11 กุมภาพันธ์ 2565
- ช่องทางเผยแพร่การแสดงของสถาบันอุดมศึกษา
- แบบเข้าร่วมโครงการเพื่อประเมินคุณค่าศิลปวัฒนธรรม
- แบบประเมินโครงการศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20
- กำหนดเริ่มส่งผลงานได้ 11 – 28 กุมภาพันธ์ 2565
เงื่อนไขกิจกรรม
- รับชมบันทึกการแสดงตามความสนใจ 6 ชุดการแสดง
- รับชมบันทึกการแสดง “ครื้นเครงเพลงลำตัด” (บังคับ)
- ทำแบบเข้าร่วมโครงการเพื่อประเมินคุณค่าศิลปวัฒนธรรม
- ทำแบบประเมินโครงการศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา
- สะสมชั่วโมงกิจกรรมจิตอาสา 3 ชั่วโมงกิจกรรม
- ต้องประเมินคุณค่า ด้วยตนเองเท่านั้น (ห้ามคัดลอกผลงาน)
- โปรดรักษาสิทธิ์ในกิจกรรมโดยการตั้งใจนำส่งผลงาน
- หากตรวจพบการคัดลอกหรือผิดเงื่อนไขถือว่าสละสิทธิ์
- สอบถามเพิ่มเติม 098-5959-297 สายด่วนกองกิจฯ